Carrot Carrot

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

กิจกรรมที่ 3 ประเภทของโครงงานคอมพิมเตอร์


ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)




1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

          เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้

โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ




2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
          เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D



3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
          เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น


4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)

          เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย



5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
          เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ

กิจกรรมที่ 2 ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์


ความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์



          
          โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับ
ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข



หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


การเรียนด้านคอมพิวเตอร์นั้นเน้นให้เกิดทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในทุกระดับชั้น จึงให้นักเรียนฝึกทักษะจากการปฏิบัติจริงตลอดเวลา และโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นแนวทางหนึ่งของการประมวลผลความรู้ที่ได้เรียนมาอย่างเป็นขั้นตอน



ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้

 1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน

2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ -การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการ
ที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร -การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการ
สร้างสรรค์โครงงาน -การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ -การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครง งานใด -การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน

3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ
พัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม


ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์



1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว


2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่


3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม


4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้


5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย


ประโยชน์ของโครงงานคอมพิวเตอร์

1) ได้พัฒนาผลงานตามความรู้ ความสนใจ และศักยภาพของตนเอง ซึ่งตอบสนองการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ โครงงานคอมพิวเตอร์จะเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้เลือกหัวข้อที่สนใจเพื่อมาพัฒนาด้วยตนเอง


2) ได้ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ กล่าวคือ โครงงานคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนในการพัฒนาผลงานที่ผู้ปฏิบัติเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนาหรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งสรุปและนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา


3) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาได้


4) ได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมถึงมีความสามารถในการบริหารจัดการและทำงานเป็นหมู่คณะ คือ โครงงานคอมพิวเตอร์เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติทำโครงงานเป็นกลุ่ม ทั้งยังมีการปรึกษาผู้อื่นตลอดเวลา


5) ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ คือ ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาโครงงานที่มีคุณภาพ


6) สามารถสื่อสารความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งวิธีการพูดและการเขียน รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเหมาะสม คือ ผู้ปฏิบัติต้องมีการนำเสนอผลงานให้ครู ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้สนใจเข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน


7) ทำให้เกิดจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบ เนื่องจากผู้ปฏิบัติจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบของผลงานที่พัฒนาขึ้น ดังนั้นผู้จัดทำจะต้องตระหนักและออกแบบโครงงานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับบุคคลอื่นและสังคม


อ้างอิง : http://sukanyakueanlom.blogspot.com/2015/07/1.html
http://slamunder1.blogspot.com/
http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html
http://www.slideshare.net/kookkai21/ss-13975143
https://www.gotoknow.org/posts/314100

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 5 บทความสำคัญสำหรับโครงงานคอมพิวเตอร์

“การบ้าน” ทำให้เด็กฉลาดขึ้นหรือไม่? 



http://setthasat.com/2012/11/05/the-myth-about-homework/

ใบงาน 4 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์


ที่มา : https://sites.google.com/site/katkaew5017/bth-thi-2-phrb-khxmphiwtexr-1

       พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2  
ยาวไป อยากเลือกอ่าน?                                                     พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร
             พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้
ที่มา : http://www.tlhr2014.com/th/?p=5795

13 ข้อต้องรู้ พ.ร.บ. คอมพ์ฉบับใหม่บังคับใช้แล้ว
ที่มา : MGR online
รู้จัก พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560
  •      Infographic รู้จัก พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560               (อัพเดทข้อมูล ณ วันที่ 3 มี.ค. 60)


  •  Infographic พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ใหม่ ไม่มี Single Gateway (อัพเดทข้อมูล ณ วันที่ 3 มี.ค. 60)

ที่มา : https://ictlawcenter.etda.or.th/files/files/Info-com-version-02-02.pdf
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ  - - - ผู้อ่านสามารถเข้ามาอ่านสรุปสาระสำึัญการร่าง พ.ร.บ. ตรงนี้ได้เลยนะคะ - - - https://ictlawcenter.etda.or.th/files/files/main-point.pdf
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
FAQ ? FAQนี้เป็นคำถามที่จะมาช่วยคลายข้อคล้องใจของคุณผู้อ่านที่ยังสงสัยกันอยู่นะคะ อยากให้คุณผู้อ่านได้อ่านและติดตามดู - - - https://ictlawcenter.etda.or.th/files/files/FAQ.pdf

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560
ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560
ปรับปรุงข้อมูล : 13/3/2560 11:03:28


ซึ่งท่านที่สนใจสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560 ค่ะ ตาม link ด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ
☞ ☞ http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C771/%C771-20-9999-update.pdf
เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ควรรู้

    1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)


บทลงโทษ

  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)

บทลงโทษ 

  • ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)

บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)

บทลงโทษ
  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)

  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
  • กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย

6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)


บทลงโทษ

หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)

7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)




บทลงโทษ

แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ

8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)


บทลงโทษ
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท




ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Ie0YHG2rjMQ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่3 วิธีสร้างblogger

คู่มือการสร้างบล็อก




ตอนที่ 1 : การสร้างบล็อกและการปรับเปลี่ยน Blogger Template

สวัสดีค่ะ วันนี้ฉัน BENJAMAPORN_38 จะมาสอนสร้างเว็บไซต์ / เว็บบล็อก ด้วย Blogger (Blogspot.com) กันนะคะ

Blog คืออะไร ?

 บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
- คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง 
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger
- จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก

Blog กับ Website ต่างกันอย่างไร?
- เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย "blogspot.com
- เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)
- แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
- การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น แต่ Blog เพียงรู้หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย


ข้อดีและข้อเสียของBlog
ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ 
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ 
ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก

ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)

ทั้งนี้ ดิฉันขอแยกเอาคู่มือการเริ่มใช้bloggerสำหรับมือใหม่ และคู่มือการสร้างบล็อคของคุณ ชญานิศ เปลี่ยนศรีเมืองเอาไว้  เพื่อที่จะง่ายต่อการอ่านและการเรียบเรียงเนื้อหาสาระนะคะ

สร้างบล็อก


จัดการบล็อกของตนเองได้ด้วย Blogger

   สร้างบล็อก


  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. ที่ด้านซ้าย ให้คลิกลูกศรลง ลูกศรลง
  3. คลิกบล็อกใหม่
  4. ใส่ชื่อบล็อก
  5. เลือกที่อยู่หรือ URL ของ บล็อก
  6. เลือกเทมเพลต
  7. คลิกสร้างบล็อก

จัดการบล็อก

เปลี่ยนโปรไฟล์ใน Blogger

คุณสามารถแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองให้ผู้อ่านผ่านโปรไฟล์ Blogger หรือโปรไฟล์ Google+ ได้

   เลือกโปรไฟล์

คุณจะใช้โปรไฟล์ Google+ หรือจะสร้างโปรไฟล์เฉพาะของ Blogger ก็ได้ ดังนี้
  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกการตั้งค่าจากนั้น การตั้งค่าผู้ใช้ ในเมนูด้านซ้าย
  3. ในส่วน "ทั่วไป" ที่ถัดจาก "โปรไฟล์ผู้ใช้" ให้เลือกโปรไฟล์ประเภทต่อไปนี้
    • Blogger
    • Google+
  4. คลิกบันทึกการตั้งค่าที่ด้านขวาบน

    ใช้โปรไฟล์เฉพาะของ Blogger

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกการตั้งค่า จากนั้น การตั้งค่าผู้ใช้ ในเมนูด้านซ้าย
  3. ในส่วน "ทั่วไป" ที่ถัดจาก "โปรไฟล์ผู้ใช้" ให้เลือก "Blogger"
  4. คลิกบันทึกการตั้งค่าที่ด้านขวาบน

    แก้ไขโปรไฟล์บล็อกเกอร์

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกการตั้งค่า จากนั้น การตั้งค่าผู้ใช้ ในเมนูด้านซ้าย
  3. ในส่วน "ทั่วไป" ที่ถัดจาก "โปรไฟล์ผู้ใช้" และในส่วน "Blogger" ให้คลิกแก้ไข
  4. แก้ไขตามต้องการ
  5. คลิกบันทึกโปรไฟล์

    แสดงโปรไฟล์ในบล็อก

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง ทางด้านซ้ายบนที่ติดกับชื่อบล็อก
  3. เลือกบล็อกที่จะอัปเดต
  4. ในเมนูด้านซ้าย ให้คลิกรูปแบบ
  5. เลือกตำแหน่งในหน้าเว็บที่จะแสดงโปรไฟล์ แล้วคลิกเพิ่มแกดเจ็ต
  6. เลือกแกดเจ็ตโปรไฟล์
    • แกดเจ็ตป้ายสถานะ Google+ จะแสดงโปรไฟล์ Google+ ของคุณ
    • แกดเจ็ตโปรไฟล์จะแสดงโปรไฟล์ Blogger หรือโปรไฟล์ Google+ โดยขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกใช้โปรไฟล์ไหนในการเขียนบล็อก
  7. คลิกเพิ่ม เพิ่ม ที่อยู่ติดกับบล็อกที่ต้องการ
  8. เลือกการตั้งค่า
  9. คลิกบันทึก
  10. ที่ด้านขวาบน ให้คลิกบันทึกการจัดเรียง

เพิ่มหน้าในบล็อกของคุณ

คุณสามารถสร้างหน้าสำหรับเนื้อหาที่ใช้ได้ตลอด เช่น “เกี่ยวกับ” หรือ “ข้อมูลติดต่อ” โดยจะแสดงหน้าเหล่านั้นในบล็อกเป็นแท็บที่ด้านบนหรือจะแสดงเป็นลิงก์ที่ด้านข้างก็ได้
หมายเหตุ: คุณไม่สามารถใช้โพสต์เป็นหน้าเนื้อหาได้

    ขั้นตอนที่ 1: แสดงหน้าของคุณ

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง ที่ด้านซ้ายบน
  3. เลือกบล็อกที่ต้องการอัปเดต
  4. คลิกการออกแบบในเมนูด้านซ้าย
  5. คลิกเพิ่มแกดเจ็ตในส่วนที่คุณต้องการให้แสดงหน้า
  6. คลิกเพิ่ม  ในหน้าต่างข้าง "หน้า"
  7. กำหนดการตั้งค่าแล้วคลิกบันทึก
  8. คลิกบันทึกการจัดเรียงที่ด้านบนขวา
หากต้องการเปลี่ยนตำแหน่งที่จะแสดงหน้า ให้ลากแกดเจ็ตไปไว้ที่ตำแหน่งใหม่

    ขั้นตอนที่ 2: สร้าง แก้ไข หรือลบหน้า

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง ที่ด้านซ้ายบน
  3. เลือกบล็อกที่ต้องการอัปเดต
  4. เลือกหน้าที่เมนูด้านซ้าย
    • สร้างหน้าใหม่: คลิกหน้าใหม่ป้อนชื่อหน้าและข้อมูลอื่นๆ แล้วคลิกบันทึก แสดงตัวอย่าง หรือเผยแพร่
    • สร้างลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น: คลิกแก้ไข แก้ไข จากนั้น เพิ่มลิงก์ภายนอก ป้อนชื่อหน้าและ URL แล้วคลิกบันทึกลิงก์
    • แก้ไขหน้า: คลิกแก้ไขใต้หน้าที่คุณต้องการแก้ไข อัปเดตหน้าแล้วคลิกบันทึก แสดงตัวอย่าง หรือเผยแพร่
    • ลบหน้า: คลิกลบ จากนั้น ตกลงใต้หน้าที่คุณต้องการนำออก

    ขั้นตอนที่ 3: เลือกหน้าที่จะแสดง

  1. คลิกการออกแบบในเมนูด้านซ้าย
  2. คลิกแก้ไข แก้ไข ในส่วน "หน้า"
  3. เลือกหน้าที่ต้องการแสดง
  4. คลิกบันทึก
  5. คลิกบันทึกการจัดเรียงที่ด้านบนขวา

ใส่รูปภาพและวิดีโอในบล็อก

คุณจะใส่ภาพถ่าย รูปภาพอื่นๆ และวิดีโอในบล็อกโพสต์ที่สร้างได้

    ใส่รูปภาพในบล็อกโพสต์

รูปภาพในบล็อกจะเก็บไว้ในที่เก็บอัลบั้ม Google และแสดงใน Blogger เมื่อคุณแทรกไว้ในหน้าเว็บหรือบล็อกโพสต์
หมายเหตุ: รูปภาพหรือวิดีโอที่อัปโหลดจะใช้พื้นที่เก็บข้อมูลของคุณ หากมีคุณสมบัติดังนี้
  • รูปภาพมีความสูงหรือความกว้างเกิน 2,048 พิกเซล
  • วิดีโอมีความยาวมากกว่า 15 นาที 

    เลิกแสดงภาพแบบวางซ้อน

โดยค่าเริ่มต้น รูปภาพในบล็อกจะเปิดแบบวางซ้อนที่เรียกว่า Lightbox ป้องกันไม่ให้ภาพเปิดใน Lightbox ได้ดังนี้
  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. เลือกบล็อกที่จะอัปเดต
  3. เลือกการตั้งค่า จากนั้น โพสต์ ความคิดเห็น และการแชร์ จากนั้น โพสต์ในเมนูด้านซ้าย
  4. ใน "แสดงภาพด้วย Lightbox” ให้เลือกไม่
หมายเหตุ: หากเปิดมุมมองแบบไดนามิกไว้ คุณจะเปิดรูปภาพในบล็อกได้ก็ต่อเมื่อปิดมุมมองนี้

    ลบภาพออกจากอัลบั้ม

คุณสามารถลบภาพออกจากที่เก็บอัลบั้มได้ทุกเมื่อ หากลบภาพออกจากอัลบั้มของบล็อกในที่เก็บอัลบั้ม ภาพเหล่านั้นจะถูกลบออกจากบล็อกด้วย
หมายเหตุ: หากคุณวางภาพจากโฟลเดอร์ส่วนตัวไว้ในบล็อก อาจมีสำเนาภาพแสดงทั้งในโฟลเดอร์นั้นและในที่เก็บอัลบั้ม หากต้องการลบภาพนั้นออกจากที่เก็บอัลบั้มให้หมด คุณควรลบออกจากทั้ง 2 ที่ คือทั้งในโฟลเดอร์ส่วนตัวและอัลบั้มของบล็อกในที่เก็บอัลบั้ม

    แก้ปัญหาในการอัปโหลด

หากพบปัญหาในขณะอัปโหลดภาพ โปรดล้างแคชและคุกกี้ แล้วลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  • ปิดตัวบล็อกป็อปอัปหรือเพิ่ม Blogger.com ในการตั้งค่าตัวบล็อกป็อปอัป
  • ปิดปลั๊กอินต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ในเบราว์เซอร์
  • ลองใช้ Google Chrome, Mozilla Firefox และ Internet Explorer เวอร์ชันล่าสุด

    ใส่วิดีโอลงในบล็อก

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. เลือกบล็อกที่จะอัปเดต
  3. สร้างโพสต์ใหม่หรือแก้ไขโพสต์เพื่อใส่วิดีโอ
  4. ในตัวแก้ไขโพสต์ ให้คลิกแทรกวิดีโอ video icon
  5. เลือกวิดีโอที่ต้องการใช้
  6. คลิกอัปโหลด
หมายเหตุ:
  • เลี่ยงการใส่เนื้อหาที่ผู้อื่นโฮสต์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้นั้น
  • เลี่ยงการใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายลิขสิทธิ์ของ Blogger
  • เลี่ยงการใส่เนื้อหาที่ละเมิดนโยบายเนื้อหาของเรา ซึ่งรวมถึงภาพโจ่งแจ้งที่โพสต์โดยไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้ที่อยู่ในภาพ ตลอดจนเนื้อหาที่แสดงถึงความเกลียดชัง ความรุนแรง และหยาบคาย

    จัดการวิดีโอ

คุณจะดู ดาวน์โหลด หรือลบวิดีโอทั้งหมดที่อัปโหลดไปยังบล็อกของคุณได้

ในฐานะเจ้าของบล็อก

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง ที่ด้านซ้ายบน
  3. คลิกบล็อกที่คุณต้องการจัดการวิดีโอ
  4. คลิกการตั้งค่า จากนั้น อื่นๆ ในเมนูด้านซ้าย
  5. ในส่วน "นำเข้าและสำรองข้อมูล" ให้ค้นหา "วิดีโอจากบล็อกของคุณ" แล้วคลิกจัดการวิดีโอของคุณ ห้องสมุดวิดีโอของคุณจะเปิดขึ้นในหน้าต่างใหม่
  6. หากต้องการลบวิดีโอ ให้คลิกลบ หากต้องการดาวน์โหลดวิดีโอ ให้คลิกดาวน์โหลด

ในฐานะผู้เขียนบล็อก

  1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger
  2. คลิกลูกศรลง ลูกศรลง ที่ด้านซ้ายบน
  3. คลิกบล็อกที่คุณต้องการจัดการวิดีโอ
  4. คลิกการตั้งค่า จากนั้น พื้นฐานในเมนูด้านซ้าย
  5. ในส่วน "การจัดการวิดีโอ" ให้ค้นหา "วิดีโอจากบล็อกของคุณ" แล้วคลิกจัดการวิดีโอของคุณ ห้องสมุดวิดีโอของคุณจะเปิดขึ้นในหน้าต่างใหม่
  6. หากต้องการลบวิดีโอ ให้คลิกลบ หากต้องการดาวน์โหลดวิดีโอ ให้คลิกดาวน์โหลด
หมายเหตุ: เจ้าของบล็อกจะดู ดาวน์โหลด และลบวิดีโอทั้งหมดที่อัปโหลดไปยังบล็อกของตนเองได้ ส่วนผู้เขียนบล็อกจะดู ดาวน์โหลด และลบวิดีโอที่อัปโหลดไปยังบล็อกด้วยตนเองได้
หรือ จะทำแบบวิธีตามตัวอย่างในวีดีโอน้ก็ได้เช่นกันค่ะ

ขอขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=fiCuTUYqRp0 


เมื่อสามารถสร้างBlogแบบพื้นฐานได้แล้ว จะทำอย่างไรให้มันดูสวยและน่าอ่านน่าติดตามมากขึ้น ?

วิธีทำบล็อก (Blogspot) ให้สวย

ขั้นตอนเปลี่ยน Blogger Template

1. ค้นหา Blogger Template ที่ถูกใจ
2. โหลด Template มาแล้วแตก Zip 
3. ถ้ามีคู่มือ ให้อ่านก่อนเพื่อที่จะทำความเข้าใจ และประหยัดเวลาในการทำนะคะ
4. นำไฟล์ .xml ซึ่งเป็นตัวไฟล์ Template จริงๆ อัพโหลดขึ้นบล็อก ดังคลิป
ขอขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=NnuPY5HuiOk
ที่นี่เราก็รู้วิธีการเปลี่ยน  Template และการสร้างblogแล้ว เราก็จะสามารถเผยแพร่ความรู้ของเราให้คนอื่นๆได้ แต่ต้องมีวิจารณาณใรการสร้างblogด้วยนะคะ

กิจกรรมที่ 3 ประเภทของโครงงานคอมพิมเตอร์

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่าง...